วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

จงเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้ทั้ง 2 ธุรกิจ

ฟูจิ และ MK

1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ต้องการไปลงทุน เช่นด้านพฤติกรรมการบริโภคของประเทศนั้นๆ
2.ควรเน้นการลงทุนที่มีการขยายตัวของธุรกิจที่มองเห็นโอกาสคาดว่าจะได้รับประโยขน์มากและไม่ส่งผลต่อธุรกิจในอนาคต
3.ฟูจิควรลงทุนในการทำการตลาดในเรื่องของอาหารญี่ปุ่นมากกว่าการลงทุนในการทำอาหารฝรั่งเศสเพราะอาหารญี่ปุ่นของฟูจิเป็นที่รู้จักและยอมรับเป็นอย่างดีถ้าทำอาหารฝรั่งเศสน่าจะมีการแข่งขันสูงและอาจไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดได้
4.ทั้งสองธุรกิจต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดจูงใจและสามารถเจาะกลุ่มตลาดเป้าหมายกลุ่มอื่นๆได้
5.เพิ่มกลยุทธ์ใหม่ๆเน้นในเรื่องของสุขภาพเพราะคนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นในประเทศและต่างประเทศหันมาสนใจรักษาสุขภาพกันมากขึ้น
6.ขยายสาขาเพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึง

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชนมอินเดีย


ขนมอินเดีย
            มีรูปลักษณ์ของขนมบางอย่างก็น่าสนใจบางอย่างก็รูปลักษณ์ก็ไม่ค่อยน่ารับประทานบางชิ้นมีสีสันและมีทองคำเปลวแปะอยู่ซึ่งดูแล้วเหมือนจะกินไม่ได้แต่เค้าเอามาแต่งน่าตาของขนมส่วนรสชาติของขนมนั้นคนอินเดียมักจะใช้นมเป็นส่วนผสมหลักมีรสชาติหวานคาวๆ
ความคิดเห็น
            ไม่ชอบ เพราะ มันมีกลิ่นคาวของนมรสชาตเหมือนนมบูดแต่คนอื่นๆที่กลิ่นอาจจะชอบก็ได้

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมไทยส่งออก

       ขนมไทยมีประวัติความเป็นมายาวนานเท่าที่มีการบันทึกก็เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดีย เมื่อมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างชาติทั้งทางตะวันตกและตะวันออก ประเทศไทยก็ได้รับวัฒนธรรมทางอาหารการกินมาจากต่างชาติด้วย
           ขนมไทยโบราณแต่เดิมที่มีมาถึงปัจจุบันหลายอย่างไม่ใช่ของไทยแท้แต่ได้รับวัฒนธรรมจากมารี กีมาร์ เดอ ปีนา (MarieGuimar de Pihna)” หรือท้าวทองกีบม้าเป็นลูกครึ่ง โปรตุเกส-ญี่ปุ่น และประเทศบังกลาเทศเบงกอลที่ได้เข้ามารับราชการเป็นหัวหน้าห้องต้นเครื่องและได้ทำการสอนวิธีการขนมดัดแปลงหลายประเภท ท้าวทองกีบม้าได้รับฉายาว่าราชินีขนมไทยโดยตำหรับขนมหวานได้รับการเผยแพร่จากท่านท้าวนั้นประกอบด้วย กะหรี่ปั๊บ ขนมหม้อแกง ทองม้วน ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง สังขยา และขนมผิง ซึ่งขนมเหล่านี้ในปัจจุบันได้รับความนิยมจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น


ขนมไทยกับความต้องการจากนานาชาติ
      ขนมไทยเป็นที่ชื่นชอบจากนานาชาติโดยประเทศไทยได้มีการส่งออกขนมไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสิงคโปร์มาเลเซียหรือเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีการทานขนมจากแป้งเหมือนประเทศไทย โดยประเทศเหล่านี้จะชอบทานขนมจำพวกขนมเหนียว ถั่วแปบ ฝอยทองกรอบส่วนประเทศทางยุโรป เช่น อิตาลี ซึ่งชอบทานของหวานอย่างเช่นไอศกรีมหรือช็อกโกแลตก็ปรากฏว่าขนมอย่างวุ้นกะทิ

ขนมผิง ลูกชุบ หรือขนมอย่างอาลัวที่ได้ดัดแปลงโดยใช้ช็อกโกแลต คัสตาร์ดและนมเป็นส่วนผสมเป็นที่นิยมมาก

 
วิเคราะห์ swot ของขนมไทย
จุดแข็ง    -     เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์
-    มีความหลากหลายของชนิดขนม
-    วัตถุดิบได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
-    มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้น่าสนใจ
จุดอ่อน      -     ตราสินค้ายังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
   -  ขนมไทยอาจจะมีการเน่าเสียได้ง่ายจึงต้องมีการปรับปรุงเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น
   -   บรรจุภัณฑ์ต้องปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ดูน่าสนใจ
   -   การจัดการส่งเสริมการขายเช่นการโฆษณาเป็นไปได้ยาก
โอกาส  -  มีการพัฒนาและปรับปรุงรสชาติและวัตถุดิบให้เข้ากับคนต่างชาติมากขึ้น                     
    -    การขยายตลาดในการส่งออกสินค้า
    -    รัฐบาลให้การสนับสนุนในการทำธุรกิจการส่งออก SME
    -     เนื่องจากคู่แข่งขันในการทำธุรกิจยังมีไม่ค่อยมากนักจึงมีโอกาส
อุปสรรค          -    ต้องใช้ทุนในการลงทุนสูง
                        -   ต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีราคาไม่แน่นอน
            -   เนื่องจากขนมไทยมีการประณีต การขนส่งจึงต้องควรระมัดระวัง
                        -     บางประเทศมีการเข้มงวดในเรื่องวัตถุดิบ

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจและการค้าของประเทศฝรั่งเศส
สภาวะเศรษฐกิจ
         เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 5 ของโลก เป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ) อันดับที่ 4 และส่งออกสินค้าเกษตร (ธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) เป็นอันดับที่ 2 ของโลก
 ในด้านการลงทุน ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส ความก้าวหน้าในเรื่องการค้นคว้าและวิจัย และเทคโนโลชั้นสูงของฝรั่งเศส
 
                       

 ปัจจุบัน แม้จะเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสยังคงได้เปรียบดุลการค้า คือ (1) ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง เนื่องจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (ฝรั่งเศสมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ ร้อยละ 88 มาจากพลังงานนิวเคลียร์) (2) การทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญ โดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพยุโรป (3) การขยายตัวของการส่งออกสินค้ามูลค่าสูง เช่น เครื่องบินแอร์บัส อุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของประเทศทั้งหมด
             - มาตรการที่ฝรั่งเศสใช้ในการรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ ได้แก่ fiscal retrenchment เพื่อลด public deficit ผสานกับการกระตุ้นเศรษฐกิจและการปฏิรูปไปพร้อมกัน โดยเน้นการปฏิรูป 3 ส่วน ได้แก่
 (1) ระบบบำนาญ
 (2) การหักลดภาษีสำหรับโครงการที่กระตุ้นการจ้างงานและการสนับสนุน self-employment โดยฝรั่งเศสเน้นการดำเนินมาตรการอย่างสมดุลระหว่าง fiscal retrenchment การกระตุ้นเศรษฐกิจ และการปฏิรูป กล่าวคือ คงวินัยทางการเงินการคลัง ในขณะที่ยังคงมีการลงทุนในโครงการระยะยาวและในสาขาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ
(3) การจ้างงานเพื่อรักษาอัตราความเจริญเติบโตไว้ พร้อมกับการมีระบบเพื่อควบคุมภาคธุรกิจที่เหมาะสม
 ในระดับระหว่างประเทศ ฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม G20 G8 และ G7 ในปี 2554 โดยฝรั่งเศสจะให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
 (1) การปฏิรูประบบการเงินโลก
 (2) การทบทวนกลไกตลาด/ราคา สำหรับสินค้าต่างๆ ที่ผันผวน และ
 (3) global governance โดยเพาะแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานระหว่างองค์การระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ WTO World Bank และ IMF
        ด้านเศรษฐกิจ
             ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 4 ของไทยในอียู ในปี 2552 การค้าระหว่างกันมีมูลค่า 3,399 ล้าน USD ไทยส่งออก 1,543 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,852 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 306 ล้าน USD เนื่องจากนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าสูงจากฝรั่งเศส อาทิ เครื่องบินแอร์บัส อุปกรณ์การบิน
   


             สินค้าศักยภาพที่ไทยส่งออกไปฝรั่งเศส ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อากาศยาน เครื่องจักรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า 1) ปัญหาด้านกฎระเบียบของฝรั่งเศสและของสหภาพยุโรป ซึ่งฝรั่งเศสมักจะเข้มงวดตรวจสอบมากกว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ
2) ปัญหาสุขอนามัย โดยเฉพาะในสินค้าประมง อาทิ การตรวจพบ cadmium ในปลาหมึกแช่แข็ง หรือการพบเชื้อ salmonella ในปลาแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งทำให้สินค้านำเข้าจากบริษัทที่มีปัญหาถูกใช้มาตรการเข้มงวด/ตรวจสอบ ทั้งนี้ สินค้าประมงเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP)
3) ปัญหาคุณภาพสินค้าไทยบางประเภทที่ยังไม่ได้มาตรฐานตลาด
4) ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดเสรี มีการแข่งขันสูงมีการกีดกันและป้องกันตนเอง นอกจากนี้ ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีรสนิยมเฉพาะตัว ข้อมูลที่ได้รับจากผู้นำเข้ารายใหญ่รายงานว่า ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสมีรสนิยมที่แตกต่างจากกลุ่มผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ อาทิ กรณีของสับปะรดกระป๋อง ผู้บริโภคนิยมสับปะรดกระป๋องที่มีความเข้มข้นของน้ำเชื่อมสูง และคำนึงถึงสีสันของเนื้อสับปะรดด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มยังให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องบนสลากบรรจุภัณฑ์อีกด้วย
5) ความเข้มงวดทางด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยความที่ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการออกแบบรูปแบบสินค้าต่างๆ จึงทำให้ฝรั่งเศสค่อนข้างมีปัญหาทางการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย โดยเฉพาะความผิดเรื่องการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ซึ่งพบว่า 7 ใน 10 ของเครื่องหมายการค้าที่พบว่ามีการลอกเลียนแบบนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าลอกเลียนแบบที่ถูกจับกุมและยึดโดยศุลกากรฝรั่งเศส มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยมากที่สุด


กลไกความร่วมมือด้านการค้า            ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมด้านการค้าไทย-ฝรั่งเศส และมีการจัดทำข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี รวมทั้งเป็นกลไกการหารือเพื่อมุ่งแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนที่อยู่ในความสนใจของสองฝ่าย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ
           สำหรับภาคเอกชน มีการจัดตั้งสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (French-Thai Business Council - FTBC) ขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 โดยหอการค้าไทยเป็นตัวแทน (ประธานร่วมฝ่ายไทย คือ นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์) และ MEDEF (Mouvement Entrepreneurs de France หรือสมาพันธ์นายจ้างฝรั่งเศส) เป็นตัวแทนของฝ่ายฝรั่งเศส (ประธานร่วมฝ่ายฝรั่งเศส คือ นาย Jacques Friedmann)
            นอกจากนี้ ไทย-ฝรั่งเศส ยังมีความร่วมมือในกรอบ ASEM อาทิ สภาธุรกิจเอเชีย- ยุโรป (Asia - Europe Business Forum) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนชั้นนำของประเทศสมาชิก ASEM
          

                    

อ้างอิง:

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศต่างกับการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร

                                   
     การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆโดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนไม่เท่ากัน ประเทศที่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศนั้นจะเป็นผู้ผลิตและส่งสินค้าไปขายที่อื่น ๆ เหตุที่ประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่างกันเพราะว่า มีความแตกต่างในปริมาณและทรัพยากรกล่าวคือ บางประเทศมีแร่ธาตุมาก บางประเทศเป็นแหล่งน้ำมัน บางประเทศมีป่าไม้มาก เป็นต้น ประกอบกับความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ส่งผลให้สินค้าบางชนิดสามารถผลิตได้ในบางพื้นที่เท่านั้น
      การตลาดระหว่างประเทศ เป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนจากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
               

สรุป
การค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศต่างกันตรงที่การตลาดระหว่างประเทศจะเป็นการวางแผน จัดการแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่นานาประเทศ(Multinational) เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนโดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ ส่วนการค้าระหว่างประเทศจะเป็นการค้าโดยส่งออกสินค้าที่ประเทศนั้นๆมีปัจจัยการผลิตที่สมบูรณ์และมีความชำนาญในการผลิตเนื่องจากความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ และ ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิตผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน