วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจและการค้าของประเทศฝรั่งเศส
สภาวะเศรษฐกิจ
         เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 5 ของโลก เป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ) อันดับที่ 4 และส่งออกสินค้าเกษตร (ธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) เป็นอันดับที่ 2 ของโลก
 ในด้านการลงทุน ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส ความก้าวหน้าในเรื่องการค้นคว้าและวิจัย และเทคโนโลชั้นสูงของฝรั่งเศส
 
                       

 ปัจจุบัน แม้จะเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสยังคงได้เปรียบดุลการค้า คือ (1) ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง เนื่องจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (ฝรั่งเศสมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ ร้อยละ 88 มาจากพลังงานนิวเคลียร์) (2) การทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญ โดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพยุโรป (3) การขยายตัวของการส่งออกสินค้ามูลค่าสูง เช่น เครื่องบินแอร์บัส อุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของประเทศทั้งหมด
             - มาตรการที่ฝรั่งเศสใช้ในการรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ ได้แก่ fiscal retrenchment เพื่อลด public deficit ผสานกับการกระตุ้นเศรษฐกิจและการปฏิรูปไปพร้อมกัน โดยเน้นการปฏิรูป 3 ส่วน ได้แก่
 (1) ระบบบำนาญ
 (2) การหักลดภาษีสำหรับโครงการที่กระตุ้นการจ้างงานและการสนับสนุน self-employment โดยฝรั่งเศสเน้นการดำเนินมาตรการอย่างสมดุลระหว่าง fiscal retrenchment การกระตุ้นเศรษฐกิจ และการปฏิรูป กล่าวคือ คงวินัยทางการเงินการคลัง ในขณะที่ยังคงมีการลงทุนในโครงการระยะยาวและในสาขาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ
(3) การจ้างงานเพื่อรักษาอัตราความเจริญเติบโตไว้ พร้อมกับการมีระบบเพื่อควบคุมภาคธุรกิจที่เหมาะสม
 ในระดับระหว่างประเทศ ฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม G20 G8 และ G7 ในปี 2554 โดยฝรั่งเศสจะให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
 (1) การปฏิรูประบบการเงินโลก
 (2) การทบทวนกลไกตลาด/ราคา สำหรับสินค้าต่างๆ ที่ผันผวน และ
 (3) global governance โดยเพาะแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานระหว่างองค์การระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ WTO World Bank และ IMF
        ด้านเศรษฐกิจ
             ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 4 ของไทยในอียู ในปี 2552 การค้าระหว่างกันมีมูลค่า 3,399 ล้าน USD ไทยส่งออก 1,543 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,852 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 306 ล้าน USD เนื่องจากนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าสูงจากฝรั่งเศส อาทิ เครื่องบินแอร์บัส อุปกรณ์การบิน
   


             สินค้าศักยภาพที่ไทยส่งออกไปฝรั่งเศส ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อากาศยาน เครื่องจักรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า 1) ปัญหาด้านกฎระเบียบของฝรั่งเศสและของสหภาพยุโรป ซึ่งฝรั่งเศสมักจะเข้มงวดตรวจสอบมากกว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ
2) ปัญหาสุขอนามัย โดยเฉพาะในสินค้าประมง อาทิ การตรวจพบ cadmium ในปลาหมึกแช่แข็ง หรือการพบเชื้อ salmonella ในปลาแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งทำให้สินค้านำเข้าจากบริษัทที่มีปัญหาถูกใช้มาตรการเข้มงวด/ตรวจสอบ ทั้งนี้ สินค้าประมงเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP)
3) ปัญหาคุณภาพสินค้าไทยบางประเภทที่ยังไม่ได้มาตรฐานตลาด
4) ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดเสรี มีการแข่งขันสูงมีการกีดกันและป้องกันตนเอง นอกจากนี้ ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีรสนิยมเฉพาะตัว ข้อมูลที่ได้รับจากผู้นำเข้ารายใหญ่รายงานว่า ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสมีรสนิยมที่แตกต่างจากกลุ่มผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ อาทิ กรณีของสับปะรดกระป๋อง ผู้บริโภคนิยมสับปะรดกระป๋องที่มีความเข้มข้นของน้ำเชื่อมสูง และคำนึงถึงสีสันของเนื้อสับปะรดด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มยังให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องบนสลากบรรจุภัณฑ์อีกด้วย
5) ความเข้มงวดทางด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยความที่ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการออกแบบรูปแบบสินค้าต่างๆ จึงทำให้ฝรั่งเศสค่อนข้างมีปัญหาทางการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย โดยเฉพาะความผิดเรื่องการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ซึ่งพบว่า 7 ใน 10 ของเครื่องหมายการค้าที่พบว่ามีการลอกเลียนแบบนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าลอกเลียนแบบที่ถูกจับกุมและยึดโดยศุลกากรฝรั่งเศส มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยมากที่สุด


กลไกความร่วมมือด้านการค้า            ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมด้านการค้าไทย-ฝรั่งเศส และมีการจัดทำข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี รวมทั้งเป็นกลไกการหารือเพื่อมุ่งแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนที่อยู่ในความสนใจของสองฝ่าย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ
           สำหรับภาคเอกชน มีการจัดตั้งสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (French-Thai Business Council - FTBC) ขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 โดยหอการค้าไทยเป็นตัวแทน (ประธานร่วมฝ่ายไทย คือ นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์) และ MEDEF (Mouvement Entrepreneurs de France หรือสมาพันธ์นายจ้างฝรั่งเศส) เป็นตัวแทนของฝ่ายฝรั่งเศส (ประธานร่วมฝ่ายฝรั่งเศส คือ นาย Jacques Friedmann)
            นอกจากนี้ ไทย-ฝรั่งเศส ยังมีความร่วมมือในกรอบ ASEM อาทิ สภาธุรกิจเอเชีย- ยุโรป (Asia - Europe Business Forum) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนชั้นนำของประเทศสมาชิก ASEM
          

                    

อ้างอิง:

5 ความคิดเห็น: